การจัดการ และการกำกับดูแลกิจการ

ติดต่อสอบถาม

ATP30

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

คณะกรรมการบริษัทมีนโยบายการปฏิบัติตามข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับกรรมการบริษัทจดทะเบียน (Code of Practice) รวมทั้งได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการและแนวปฎิบัติที่ดีเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารงาน และก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับบริษัท โดยมีหลักการตามรายละเอียดต่อไปนี้

ข้อมูลรายละเอียดการจัดการและการกำกับดูแลกิจการ

หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น (Rights of Shareholder) คณะกรรมการบริษทั ให้ความสำคัญและเคารพสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดสิทธิหรือการริดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้นรวมทั้งได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นในการใช้สิทธิต่างๆ และไดกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ผู้ถือหุ้นควรไดร้ับ

เรียนรู้เพิ่มเติม

หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม (Equitable Treatment of Shareholder) บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อผู้ถือหุ้นทุกราย โดยไม่คำนึงถึง เพศอายุสีผิวเชื้อชาติสัญชาติศาสนาความเชื่อ ความคิดเห็นทางการเมือง หรือความพิการ บริษัทฯ มีแนวปฏิบัติในการกำกับดูแลเพื่อปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันและเป็นธรรม สร้างความมั่นใจในการลงทุนกับบริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิเสนอระเบียบวาระการประชุม และ เสนอชื่อผูท้รงคุณวุฒิเพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ อย่างน้อย 30วัน ก่อนงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น และเผยแพร่หลักเกณฑ์ การใช้สิทธิดังกล่าวผ่านทางเว็บไซตข์องบริษัทฯ

เรียนรู้เพิ่มเติม

หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย(Roles of Stakeholdes) บริษัทฯ เคารพสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียและกำหนดเป็นแนวปฏิบัติไว้ในจรรยาบรรณของบริษัทฯ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสิทธิตามกฎหมายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น ลูกค้าพนักงานผู้บริหาร คู่ค้าคู่แข่งทางการค้าเจ้าหน้ีรวมถึงชุมชนและสิ่งแวดล้อ ม ตลอดจนสังคมจะได้รับการดูแล นอกจากน้ีบริษัทฯ ยัง ได้เสริมสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียในกลุ่มต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่อไป มีความมั่นคงและตอบแทนผลประโยชน์ที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายเพื่อสร้างความสา เร็จในระยะยาวโดยบริษัทฯ มีแนวทางการปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวดังน้ี

เรียนรู้เพิ่มเติม

หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส (Disclosure and Transparency) บริษัทฯ มีช่องทางติดต่อเพื่อเผยแพร่ข้อมูลและข่าวสารผ่านเว็บไซดข์องบริษัทฯ โดยบริษัทฯ มีนโยบายที่ จะให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วนโปร่งใส ทันเวลาและเท่าเทียมกันแก่นักลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้องทราบทั้งในส่วนของข่าวสารข้อมูลบริษัทฯ รายงานทางการเงิน ข้อมูลที่นำเสนอแก่นักวิเคราะห์และนักลงทุน และ ข้อมูลสำคัญอื่นที่มีผลกระทบต่อมูลค่าหลักทรัพยข์องบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะมีช่องทางการติดต่อกับนักลงทุนและช่องทางในการเปิดเผยข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ ดังน้ี

เรียนรู้เพิ่มเติม

หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ (Board Responsibilities) คณะกรรมการบริษัทฯมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย แผนธุรกิจ และงบประมาณของ บริษัทฯ ตลอดจนการกับดูแลให้ฝ่ายบริหารดำเนินการให้เป็นไปตามแผน และงบประมาณ ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยมีรายละเอียดคณะกรรมการและความรับผิดชอบ ดังน้ี

เรียนรู้เพิ่มเติม

คณะกรรมการบริษัท การตระหนักถึงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการชี้แนะทิศทางการดำเนินงาน ติดตามดูแลการ ทำงานของฝ่ายจัดการ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรู้ความสามารถ โปร่งใส ระมัดระวัง และมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ (Accountability) ของคณะกรรมการบริษัทที่มีต่อบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นโดยเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการ

เรียนรู้เพิ่มเติม

คณะกรรมการอิสระ องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทต้องมีจำนวนสัดส่วนของกรรมการที่เป็นอิสระเพียงพอที่จะ สามารถตรวจสอบถ่วงดุลการทํางานของคณะกรรมการบริษัทและการดําเนินงานของฝ่ายจัดการ ซึ่งต้องประกอบด้วยกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของกรรมการบริษัททั้งหมดและมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน กรรมการ อิสระต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนด ดังนี้

เรียนรู้เพิ่มเติม

คณะกรรมการตรวจสอบ คุณสมบัติกรรมการตรวจสอบมีดังนี้

เรียนรู้เพิ่มเติม

การประชุมคณะกรรมการ: คณะกรรมการบริษัทได้ประกาศกำหนดตารางประชุมล่วงหน้า 1 ปี ให้กรรมการและ ผู้เกี่ยวข้องทราบ โดยการประชุมวาระปกติอย่างน้อยไตรมาสละ 1 คร้ัง ทั้งน้ีอาจมีการประชุมในวาระพิเศษเพิ่มตาม ความจำเป็น โดยมีการกำหนดวาระไว้ล่วงหน้าและมีการแบ่งหมวดหมู่อย่างชัดเจน อาทิเรื่องเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติ เพื่อพิจารณา

เรียนรู้เพิ่มเติม